ความปลอดภัยของข้อมูลที่มีการรับประกัน

ข้อมูลคือสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของธุรกิจ การสูญหายของข้อมูลอาจสร้างความเสียหายร้ายแรงให้กับองค์กร นั่นคือเหตุผลที่ Zoho WorkDrive ให้ความสำคัญสูงสุดกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว Zoho WorkDrive สอดคล้องตามมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อกำหนดสำหรับอุตสาหกรรม เช่น SOC 2 ประเภท II และ ISO 27001 เราใช้มาตรการการป้องกันเชิงลึกเพื่อรักษาความปลอดภัยทางกายภาพ ตรรกะ และระดับข้อมูล

การรักษาความปลอดภัยระดับข้อมูล

ศูนย์ข้อมูลของ Zoho ตั้งอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัยและมีการเฝ้าตรวจสอบด้วยกล้องจับภาพในตอนกลางคืนทุกวัน 24 ชั่วโมงตลอดทั้งปี เซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์ของ Zoho WorkDrive เชื่อมต่อกันผ่าน SSL และได้รับการรักษาความปลอดภัยด้วยคีย์การเข้ารหัส 2048 บิตโดยใช้ RSA

การรักษาความปลอดภัยระดับข้อมูล

การกู้คืนข้อมูลเมื่อเกิดภัยพิบัติ

เซิร์ฟเวอร์ของเราได้รับการปกป้องจากความเสียหายทางการภาพทุกประเภทเป็นอย่างดี เซิร์ฟเวอร์ Zoho ทำงานบนสถาปัตยกรรมแบบกริดที่กระจาย ในกรณีเซิร์ฟเวอร์เสียหาย สำเนาไฟล์ของเราจะได้รับการสำรองข้อมูลอย่างปลอดภัยในเซิร์ฟเวอร์สำรองและพร้อมใช้งานโดยสังเกตไม่เห็นถึงความล่าช้า

การปกป้องการบุกรุก

ไฟล์ทั้งหมดจะได้รับการตรวจหาไวรัสก่อนอัปโหลดและจัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ Zoho การสกรีนของเราใช้ระบบการตรวจสอบการบุกรุกและการป้องกัน (Intrusion Detection and Intrusion Prevention - IDS/IPS) ที่มีประสิทธิภาพ และระบบของเราได้รับการป้องกันจากการโจมตี DDoS

การตรวจสอบสิทธิ์สองปัจจัย

ปกป้องบัญชี Zoho WorkDrive ด้วยการตรวจสอบสิทธิ์สองปัจจัย (TFA) การรักษาความปลอดภัยเป็นอะไรที่มากกว่าแค่รหัสผ่าน เพื่อให้แน่ใจถึงการป้องกันที่ดีเยี่ยม เรายังยังสร้างรหัสที่ไม่ซ้ำกันทุกครั้งที่คุณเข้าสู่ระบบบัญชีของคุณ

การเข้ารหัสในระหว่างการส่งและขณะที่ไม่ได้ใช้งาน

ข้อมูลของคุณปลอดภัยเสมอด้วย Zoho WorkDrive ไฟล์ใน Zoho WorkDrive ได้รับการเข้ารหัสด้วยมาตรฐานการเข้ารหัสขั้นสูง (Advanced Encryption Standard - AES) 256 บิตเมื่อไม่มีการใช้งาน ระหว่างการส่ง Perfect Forward Secrecy (PFS) จะสร้างคีย์ที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละเซสชั่นเพื่อเข้ารหัสไฟล์

การรักษาความปลอดภัยในระดับทีม

การคุกคามด้านความปลอดภัยไม่ได้มาจากภายนอกเสมอไป คุณต้องคอยระวังการโจรกรรมข้อมูลจากภายในด้วย แทนที่จะตรวจสอบสมาชิกในทีมและกิจกรรมของพวกเขาด้วยตัวเอง คุณประหยัดเวลาและพลังงานได้โดยการตั้งค่าสิทธิ์ตามบทบาทของสมาชิก

การรักษาความปลอดภัยในระดับทีม

การควบคุมระดับผู้ดูแลระบบ

เลือกที่ที่คุณสามารถแชร์ไฟล์ได้ ในฐานะผู้ดูแลระบบ คุณสามารถตัดสินใจว่าจะอนุญาตให้ผู้ใช้แชร์ไฟล์ภายในได้เพียงอย่างเดียว หรือจะอนุญาตให้แชร์ภายนอกทีมด้วย หลีกเลี่ยงความยุ่งเหยิงโดยอนุญาตให้ผู้ดูแลระบบของทีมสามารถสร้างกลุ่มสาธารณะได้

โอนความเป็นเจ้าของไฟล์

สิ่งที่สร้างขึ้นในองค์กรก็ควรอยู่ภายในองค์กร อย่าให้พนักงานเก่าออกจากองค์กรไปพร้อมไฟล์สำคัญที่พวกเขาได้สร้างและทำงานไว้ โอนความเป็นเจ้าของไฟล์จากผู้ใช้คนหนึ่งให้อีกคนหนึ่งเพื่อรักษาไฟล์เหล่านั้นให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม

แชร์ลิงก์ที่มีวันหมดอายุ

ทำให้ข้อมูลของคุณพร้อมใช้งานตราบเท่าที่คุณต้องการ กำหนดวันหมดอายุให้กับรายงานในไตรมาสสุดท้าย ผลการศึกษาค้นคว้า หรือเอกสารสำคัญอื่นๆ เมื่อต้องแชร์ข้อมูลเหล่านั้นกับบุคคลภายนอก หลังวันหมดอายุ หุ้นส่วนจากภายนอกของคุณจะไม่สามารถดูข้อมูลนั้นๆ ได้อีก

สิทธิ์ที่อิงตามบทบาท

ให้สิทธิ์การเข้าถึงแก่ผู้ใช้เท่าที่พวกเขาจำเป็นต้องมี ใช้บทบาทต่างๆ เช่น ผู้ดูหรือผู้แสดงความคิดเห็นเมื่อคุณต้องการให้ผู้ถือผลประโยชน์ร่วมมีส่วนเกี่ยวข้องแต่ไม่ต้องการให้พวกเขาทำการเปลี่ยนแปลงไฟล์ของคุณ กำหนดบทบาทต่างๆ เช่น ผู้มีส่วนร่วมหรือผู้ควบคุมดูแลเมื่อคุณต้องการให้บุคคลอื่นๆ มีส่วนร่วมในงานของคุณ